วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การยืนต่อหน้าผู้ใหญ่

การยืนต่อหน้าผู้ใหญ่
 ในการยืนต่อหน้าผู้ใหญ่นั้น   ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรยืนต่อหน้าผู้ใหญ่   แต่ให้ยืนเฉียงไปทางใดทางหนึ่ง                  โดยการยืนต่อหน้าผู้ใหญ่จะมีวิธียืนอยู่   2  วิธีด้วยกัน   คือ
1.           ยืนตรง   ขาชิด   ปลายเท้าทั้งสองข้างห่างกันเล็กน้อย   ส้นเท้าชิด   มือทั้งสองข้างแนบลำตัว   หรืประสานกันไว้ข้างหน้าด้วยความสำรวม
 หมายเหตุ   การประสานมือ   สามารถทำได้   2   วิธี   คือ
                    1. คว่ำมือซ้อนกัน   (มือซ้ายทับมือขวา   หรือมือขวาทับมือซ้าย)
                         2.หงายมือทั้งสองข้าง   แล้วสอดนิ้วเข้าระหว่างร่องนิ้วของแต่ละนิ้ว
        2.ยืนค้อมส่วนบน   ให้ยืนค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไป   ขาชิดปลายเท้าทั้งสองข้างห่างกันเล็กน้อย   ส้นเท้าชิด   ไหล่ค้อมไม่มาก   มือประสาทไว้กันข้างหน้า   และเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย   ซึ่งการยืนค้อมส่วนบนจะใช้ในกรณีที่ผู้ใหญ่พูดด้วย

    หมายเหตุ   การยืนต่อหน้าผู้ใหญ่ที่ได้กล่าวมา   สามารถนำไปใช้ได้กับบุคคลทั่วไป    พระภิกษุสงฆ์   และการยืนต่อหน้าที่ประทับ   ซึ่งการค้อมตัวจะมากหรือน้อยนั้น   ขึ้นอยู่กับความมีอาวุโสเป็นสำคัญ   (ถ้ามีอาวุโสมาก   หรือเป็นที่เคารพอย่างสูง   ก็ให้ค้อนตัวลงมาก)  

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักงานหอสมุดแห่งชาติ

มารยาทไทย--พิมพ์ครั้งที่ 2 --ปทุมธานี-- สกายบุ๊กส์,2555

200 หน้า

1. มารยาทไทย  2. พิธีทางศาสนาและพิธีกรรมไทย 


I . ชื่อเรื่อง